• ก่อนปี พ.ศ. 2456

    ไทยลงนามสัญญาเบาว์ริ่ง

    การค้าแบบอาณานิคมของยุโรปในเอเชีย แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

    ประเภทแรก เป็นการค้าในดินแดนอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตกประเทศใดประเทศหนึ่ง เช่น การค้าในดินแดนอินเดีย-พม่า-มลายูของประเทศอังกฤษ  อินโดจีนของประเทศฝรั่งเศส หมู่เกาะอินเดียตะวันออก (ประเทศอินโดนิเชีย ปัจจุบัน) ของดัชท์ (ประเทศเนเธอร์แลนด์) เป็นต้น จัดเป็นการค้าผูกขาดโดยประเทศเจ้าอาณานิคมเพียงประเทศเดียว แม้ว่าจะมีการใช้นโยบายการค้าเสรีกับบริษัทการค้าต่าง ๆ ที่ได้รับอนุญาตจากประเทศเจ้าอาณานิคมด้วยก็ตาม

    ประเภทที่สอง เป็นการค้าในดินแดนที่รัฐบาลท้องถิ่นยังเป็นเอกราชอยู่ แต่ได้เปิดให้มีการค้าเสรีในดินแดนของประเทศตนแล้ว หรือได้ทำสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคกับประเทศมหาอำนาจตะวันตก เช่น ในกรณีของประเทศจีนที่รบแพ้ประเทศอังกฤษในสงครามฝิ่น    เมื่อปี พ.ศ. 2485 ต้องทำสนธิสัญญานานกิง เปิดเมืองท่าหลายแห่ง และเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตด้านการศาลและการคลังให้กับประเทศอังกฤษ เป็นต้นแบบให้ประเทศตะวันตกอีกหลายประเทศ หรือในกรณีประเทศสหรัฐอเมริกาส่งเรือรบไปบังคับให้ประเทศญี่ปุ่นยอมเปิดประเทศ ต้องเปิดเมืองท่าให้เรือสินค้าจากชาติตะวันตกเข้าไปค้าขายได้ในปี พ.ศ. 2396

    ในกรณีของประเทศไทย ซึ่งเปิดเมืองท่าค้าขายกับเรือสินค้าตะวันตกอยู่ก่อนแล้ว ได้ทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งกับประเทศอังกฤษในปี พ.ศ. 2398 ตามแบบสนธิสัญญานานกิง ส่งผลให้ประเทศไทยต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตด้านการศาลและการคลังให้กับประเทศอังกฤษ คือไทยเก็บภาษีจากเรือสินค้าของอังกฤษได้ในอัตราเดียวคือ 3% โดยไม่มีภาษีอื่นอีก และการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีต้องเจรจากับประเทศอังกฤษก่อน ผลอีกด้านหนึ่งคือประเทศไทยดำเนินคดีกับคนอังกฤษและคนในบังคับของอังกฤษ (คนในอาณานิคมของอังกฤษและคนที่อังกฤษคุ้มครองตามกฎหมาย) ที่ทำผิดกฎหมายไทยในเมืองไทยไม่ได้ ต้องให้อังกฤษตัดสินคดีคนในบังคับอังกฤษเอง ซึ่งสนธิสัญญาบาวริ่งได้กลายเป็นต้นแบบสัญญาที่ประเทศไทยทำกับชาติตะวันตกอีกหลายประเทศต่อมาในภายหลัง
  • Remark :
  • SCG
  • National Events
  • Global Events