กระบี่

  • ชื่อ
    พ.ศ.2484 การต่อสู้ดิ้นรนช่วงสงครามเอเชียบูรพา : การปรับตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 2
    รายละเอียด :
    สินค้าใหม่ในช่วงสงคราม

    ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ได้ผลิตสินค้าใหม่อย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วคือ การสร้างหลุมหลบภัยทางอากาศในราคาไม่แพง เป็นตุ่มคอนกรีตเสริมเหล็กเล็กน้อย ผู้ซื้อนำไปฝังลงตามลานบ้านและมีข่าวแพร่ไปว่าผู้ที่ใช้หลุมหลบภัยนี้ย่อมรอดพ้นจากภัยทางอากาศได้อย่างน่าประหลาดมหัศจรรย์ แม้ว่าการริเริ่มสินค้าต่อเนื่องชนิดนี้จะไม่ได้เป็นผลมาจากสงครามโลก หากในช่วงภาวะสงครามได้ทำให้ตลาดรู้จักผลิตภัณฑ์นี้ดีมากขึ้น

    การก่อเกิดอุตสาหกรรมเหล็ก

    การผลิตเหล็กเป็นกิจการหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงสงคราม ทั้งนี้เนื่องจากความจำเป็นจากการขาดแคลนและมีความต้องการให้มีการผลิตจากแหล่งสินแร่เหล็กภายในประเทศ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ได้ขอสัมปทานเหล็ก จ.กระบี่ ตั้งแต่มกราคม พ.ศ.2483 ตามด้วยเดือนมกราคม พ.ศ.2484 ได้รับผลการสำรวจเหล็กขั้นต้นที่เขาทับควาย ต่อมาจึงเริ่มโครงการผลิตเหล็กขึ้นมา         (พ.ศ.2485) ทำให้ต้องดัดแปลงชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องจักรขึ้นมาเอง เพราะไม่สามารถสั่งซื้อและขนส่งชิ้นส่วนอะไหล่จากยุโรปในภาวะสงครามได้ ต่อมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงงานเหล็กผลิตเหล็กถลุงและเหล็กเหนียว เหล็กเหนียวเส้นกลม ตะปูและลวดเหล็ก นอกจากนี้โรงงานเหล็กยังใช้ในการผลิตอิฐทนไฟและอิฐก่อสร้างอันเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ด้วย การผลิตเหล็กขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากรัฐบาลไทย เนื่องจากแนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กตามแนวคิดในยุคนั้นบวกกับภาวะสงครามจึงเห็นความจำเป็นของอุตสาหกรรมเหล็กมากขึ้น จากกรณีการผลิตเหล็กนี้ ทำให้ความสัมพันธ์ของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด กับรัฐบาลในช่วงนั้นดีขึ้น ราบรื่นเป็นอย่างมาก

    การปรับตัวด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้า

    เดิมบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ตั้งแต่แรกตั้งบริษัทจนถึงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ซื้อกระแสไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าหลวงสามเสน ครั้นโรงไฟฟ้านี้ระเบิดก็ได้ซื้อกระแสไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าวัดเลียบ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อโรงไฟฟ้าวัดเลียบผลิตกระแสไฟฟ้าได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด จึงตัดสินใจผลิตกระแสไฟฟ้าไว้ใช้เอง แล้วได้จำหน่ายส่วนที่เกินความต้องการให้กับประชาชนเพื่อช่วยบรรเทาความขาดแคลนได้ด้วย

    การผลิตไฟฟ้าเองที่โรงงานท่าหลวงเป็นการสร้างสายไฟฟ้าแรงสูงสายแรกในต่างจังหวัด และให้บริการแก่ประชาชนในจังหวัดใกล้เคียง เช่น ลพบุรี และสระบุรี ได้ใช้ไฟฟ้าตามไปด้วย

    การปรับตัวเกิดกิจการใหม่ ๆ ได้แก่ โรงงานเหล็กยังใช้ในการผลิตอิฐทนไฟและอิฐก่อสร้างอันเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ด้วย ตามความต้องการวัสดุทนไฟที่มีคุณภาพสูงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อีกกิจการหนึ่งคือ การผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ก่อสร้างต่าง ๆ ที่ทำจากคอนกรีตหล่อสำเร็จและคอนกรีตชนิดอัดแรง โดยตั้งเป็นบริษัทผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด (ปี พ.ศ.2495) ยังมีกิจการดูดทรายมาให้กับบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ด้วย  
    ป้ายคำค้น :
    บริษัทผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด , ท่าหลวง , 2487 , หลุมหลบภัยทางอากาศ , อุตสาหกรรมเหล็ก , การผลิตไฟฟ้า , เขาทับควาย , กระบี่