ณ ลำเลียง

  • ชื่อ
    ชุมพล ณ ลำเลียง
    รายละเอียด :
     
    ป้ายคำค้น :
    ผู้จัดการใหญ่ , president , ชุมพล , ณ ลำเลียง
  • ชื่อ
    พ.ศ.2536 ยุคนายชุมพล ณ ลำเลียง
    รายละเอียด :
    ผู้จัดการใหญ่คนที่ 9 ซึ่งถือว่ามีประสบการณ์ระดับบริหารมายาวนานที่สุดในบรรดาผู้จัดการใหญ่คนไทยของเครือซิเมนต์ไทย โดยมีประสบการณที่มีความต่อเนื่องมา ตั้งแต่ยุคการปรับโครงสร้าง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 จนถึงยุคเฟื่องฟู   และช่วงสุดท้ายเข้าสู่ยุคของการแก้ปัญหาครั้งใหญ่

    ยุคนายชุมพล ณ ลำเลียง เริ่มต้นด้วยความพยายามปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจหลายประการ เพื่อการสร้างความมั่นคงทางธุรกิจ หลังจากยุคการขยายตัวครั้งใหญ่ต่อเนื่องนับสิบปี

    ปรับโครงสร้างการบริหารงาน

    แม้ว่าการปรับโครงสร้างเป็นกลุ่มธุรกิจจะมีมาตั้งแต่ยุคนายจรัส ชูโต แต่ครั้งนี้ให้ความสำคัญลักษณะกลุ่มธุรกิจที่มีความเกี่ยวเนื่องกันมากขึ้น ตามแนวคิด Business Unit ให้มีความชัดเจนและเป็นระบบมากขึ้น

    “คณะกรรมการบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด มีมติเเต่งตั้งนายชุมพล ณ ลำเลียง เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่สืบเเทนนายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ซึ่งครบวาระการปฏิบัติงานในปลายปี พ.ศ.2535 พร้อมกับได้เปลี่ยนเเปลงโครงสร้างการบริหารงานของเครือซิเมนต์ไทย โดยเเบ่งกิจการออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มซีเมนต์ กลุ่มวัสดุก่อสร้าง กลุ่มเครื่องจักรกลเเละไฟฟ้า และกลุ่มกระดาษเเละปิโตรเคมี มีผลตั้งเเต่วันที่ 1 มกราคม 2536” (รายงานประจำปี พ.ศ.2535)

    แนวทางนี้มาพร้อมกับการให้แต่กลุ่มธุรกิจดำเนินนโยบายอิสระมากขึ้น ขณะเดียวกันก็พยายามแยกกิจการ ตั้งบริษัทเพื่อสร้างความชัดเจนของธุรกิจมากขึ้น เป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นความพยายามในการกระจายอำนาจและส่งเสริมผู้บริหารใหม่อย่างจริงจัง

    “จัดตั้งบริษัทใหม่”

    เครือซิเมนต์ไทยได้จัดตั้งบริษัทเพิ่มขึ้น 4 บริษัท คือ บริษัทสยามอุตสาหกรรมวัสดุทนไฟ จำกัด บริษัทผลิตภัณฑ์ท่อสยาม จำกัด บริษัทสยามไฟเบอร์กลาส จำกัด และบริษัทสยามซิเมนต์เมียนมาร์ จำกัด (รายงานประจำปี พ.ศ.2536)

    การบริหารคุณภาพ

    นโยบายใหม่ที่ถูกยกขึ้นให้ความสำคัญก็คือการบริหารคุณภาพงานอย่างจริงจัง โดยยึดตามมาตรฐานโลก

    “นโยบาย TQC”

    คณะจัดการเครือซิเมนต์ไทยมีมติให้นำระบบการบริหารคุณภาพงานทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Commitment) มาเป็นนโยบายหนึ่งในการบริหารธุรกิจของเครือซิเมนต์ไทย (รายงานประจำปี พ.ศ.2536)

    “การรับรองระบบคุณภาพมาตรฐานสากลมากที่สุดในประเทศ”

    ด้วยการยกระดับและพัฒนามาตรฐานการผลิตและการดำเนินการในทุกๆ ด้านอย่างต่อเนื่อง ทำให้เครือซิเมนต์ไทยเป็นกลุ่มธุรกิจที่ได้รับการรับรองคุณภาพ มอก. - ISO 9002 มากที่สุดในประเทศ ในปี พ.ศ.2538 คือมีจำนวนถึง 17 โรงงาน (รายงานประจำปี พ.ศ.2538)

    การลงทุนต่างประเทศ

    แผนการลงทุนในต่างประเทศตามแนวคิดองค์การระดับภูมิภาค เริ่มมีความจริงจังในยุคนี้

    “ขยายฐานธุรกิจ”

    เครือซิเมนต์ไทยมีนโยบายขยายฐานการลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นในอุตสาหกรรม 5 ชนิด คือ ปูนซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์ใยธรรมชาติ กระเบื้องเซรามิก เยื่อกระดาษ และบรรจุภัณฑ์ โดยในเบื้องต้นมุ่งไปที่กลุ่มประเทศอินโดจีน ประเทศจีนตอนใต้ พม่า อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซื้อหุ้นร้อยละ 39 ของ Mariwasa Manufacturing, Inc. ผู้ผลิตกระเบื้องเซรามิกรายใหญ่ที่สุดในประเทศฟิลิปปินส์ (รายงานประจำปี พ.ศ.2536)

    ความชัดเจนของแนวคิดจริงจังมากขึ้น ๆ พิจารณาจากคำแถลงของประธานกรรมการในปี พ.ศ.2539 ก่อนที่วิกฤตการณ์จะเริ่มต้นขึ้น

    “นโยบายการลงทุนต่างประเทศ”

    ไม่เพียงแต่มุ่งพัฒนาธุรกิจภายในประเทศเท่านั้น เครือซิเมนต์ไทยยังมุ่งมั่นที่จะขยายขอบข่ายทางธุรกิจไปสู่ระดับสากล โดยดำเนินโครงการลงทุนในธุรกิจที่เครือฯ มีความชำนาญ ทั้งในประเทศกลุ่มอาเซียนและอินโดจีน เพื่อก้าวสู่ความเป็นผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมแห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก

    เป็นที่ทราบกันดีว่าในปี พ.ศ.2539 สภาวะเศรษฐกิจและราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีความผันผวน แต่เครือซิเมนต์ไทยเชื่อมั่นว่าด้วยความเป็นกลุ่มบริษัทที่มั่นคงมีประวัติความเป็นมาที่เจริญรุ่งเรืองยาวนานมีผู้บริหารที่มีความสามารถและมีวิสัยทัศน์กว้างไกลในการดำเนินธุรกิจ มีพนักงานมืออาชีพ รวมทั้งการเลือกสรรเทคโนโลยีที่เหมาะสมและทันสมัยมาใช้ในการประกอบกิจการได้ช่วยผลักดันให้เครือซิเมนต์ไทยก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและมุ่งสู่ความเป็นผู้นำในทุกธุรกิจที่เครือซิเมนต์ไทยดำเนินอยู่ในภูมิภาคนี้ โดยเครือซิเมนต์ไทยได้แสวงหาลู่ทางการเจริญเติบโตในธุรกิจที่เครือซิเมนต์ไทยถนัดในหลายประเทศและได้ขยายการลงทุนในภูมิภาคอินโดจีนรวมทั้งกลุ่มประเทศ   อาเซียน ซึ่งเป็นตลาดที่มีความต้องการสินค้าของเครือซิเมนต์ไทยสูงและมีแหล่งวัตถุดิบพร้อม ซึ่งคาดการณ์ว่าเครือซิเมนต์ไทยจะได้รับผลตอบแทนการลงทุนที่ดีจากตลาดดังกล่าวในอนาคตอันใกล้

    การขยายการลงทุนสู่ต่างประเทศนี้ เครือซิเมนต์ไทยจำเป็นต้องมีพนักงานชาวต่างชาติมาร่วมงานเพื่ออำนวยประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ ขณะเดียวกันเครือซิเมนต์ไทยก็ไม่ลืมที่จะส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรภายในประเทศให้มีศักยภาพเพิ่มพูนขึ้นอยู่เสมอเพื่อที่จะสามารถยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตัวเอง  
    ป้ายคำค้น :
    ชุมพล , ณ ลำเลียง , 2536
  • ชื่อ
    เรื่องที่ 10 : บทเรียนจากธุรกิจระดับภูมิภาค
    รายละเอียด :
    นำเสนอความพยายามของบริษัทในการดำเนินธุรกิจในระดับภูมิภาค ตั้งแต่การศึกษาโอกาสตั้งโรงงานปูนซีเมนต์ในประเทศมาเลเซีย โอกาสการซื้อกิจการโรงงานปูนซีเมนต์ในประเทศสิงคโปร์ ธุรกิจยิปซัมในประเทศจีน ธุรกิจเคมีภัณฑ์ในประเทศอินโดนีเซีย และปัญหาอุปสรรคของการร่วมทุนก่อตั้งบริษัท TileCera ในปี พ.ศ. 2533 เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายกระเบื้องเซรามิกในประเทศสหรัฐอเมริกา



    เนื้อหายังเสนอแนวทางการลงทุนสร้างฐานการผลิตในต่างประเทศ นับตั้งแต่คุณชุมพล ณ ลำเลียง ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ ในปี พ.ศ. 2536 โดยเน้นการลงทุนในอุตสาหกรรม 5 ประเภท ได้แก่ ปูนซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์ใยธรรมชาติ กระเบื้องเซรามิก เยื่อกระดาษ และบรรจุภัณฑ์ โดยเบื่องต้นมุ่งไปที่กลุ่มประเทศอินโดจีน ประเทศจีนตอนใต้ พม่า อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ก่อนที่เครือซิเมนต์ไทย จำเป็นต้องเปลี่ยนแผนการลงทุน หลังจากเกิดวิกฤติเศรฐกิจในปี พ.ศ. 2540 เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะการเงินที่ผันผวนในขณะนั้น


      

     
    ป้ายคำค้น :
    ชุมพล , ณ ลำเลียง , TileCera , ธุรกิจในระดับภมิภาค
  • ชื่อ
    ชุมพล ณ ลำเลียง
    รายละเอียด :
     
    ป้ายคำค้น :
    ผู้จัดการใหญ่ , president , ชุมพล , ณ ลำเลียง
  • ชื่อ
    พ.ศ. 2547 ยกเครื่องสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ (Innovation)
    รายละเอียด :
    ยกเครื่องสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ (Innovation)

    ภาพคุณชุมพล ณ ลำเลียง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ถือปืนเลเซอร์เหนี่ยวไกยิงปืนเปิดงาน Innovation: Change for Better Tomorrow ที่สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2547 เป็นสัญลักษณ์การตอกย้ำนโยบายมุ่งเน้นความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม แสดงถึงการเริ่มต้นสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ เตรียมพร้อมสู่การก้าวเป็นองค์กรชั้นนำในระดับภูมิภาค โดยมีผู้บริหารระดับสูงและพนักงานเข้าร่วมงาน

    ทั้งนี้ การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมเป็นนโยบายสำคัญ ถือเป็นก้าวใหม่สู่การเติบโตสู่ระดับสากลของเอสซีจี โดยให้ความสำคัญที่การกระตุ้นให้พนักงานใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน เปลี่ยนแปลง คิดใหม่และใฝ่รู้ คุณชุมพลกล่าวว่า “วันนี้ทุกคนต้องคิด ต้องทำและกล้าตัดสินใจ เพื่อที่จะพัฒนาเป็นวัฒนธรรมองค์กรยุคใหม่ที่จะนำเราไปสู่อนาคตได้” 

    สิ่งที่เป็นรูปธรรมที่แสดงให้เห็นการมุ่งเน้นนโยบายดังกล่าว อาทิ การจัดกิจกรรม “SCG Power of Innovation Award” เป็นการแข่งขันสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ระหว่างกลุ่มธุรกิจต่างๆของเอสซีจี โดยผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศครั้งแรก ได้แก่ ทีม Pimai จากบริษัทเซรามิกอุตสาหกรรมไทย ในธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ซึ่งคิดค้นและพัฒนากระเบื้องพิมายจนกลายเป็นสินค้าสร้างชื่อเสียงให้กับเอสซีจีในระดับโลก และสามารถส่งออกไปยังประเทศชั้นนำด้านแฟชั่น เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษและอิตาลี

    สำหรับกิจกรรมภายนอกองค์กร มีการสื่อสารให้รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง โดยการนำเสนอภาพยนตร์โฆษณาชุด Drawing the Future ตามด้วยโฆษณาแยกตามธุรกิจ เช่น ชุด Infinite Possibilities ของธุรกิจปิโตรเคมี ชุด Idea on Paper ของธุรกิจกระดาษ

    ทั้งนี้ เอสซีจีได้ให้คำจำกัดความของนวัตกรรมว่า เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์และบริการ กระบวนการทำงาน รูปแบบธุรกิจที่สามารถใช้ประโยชน์ สิ่งใหม่เหล่านี้ เป็นไปได้ทั้งสิ่งที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน หรือเป็นสิ่งใหม่ต่อยอดจากการที่เคยทำมาแล้ว โดยใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี และการจัดการมาผนวกกับการส่งเสริมวัฒนธรรมนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สัมฤทธิ์ผลและเป็นประโยชน์  
    ป้ายคำค้น :
    ชุมพล , ณ ลำเลียง , Innovation , วัฒนธรรมองค์กร , 2547 , องค์กรแห่งนวัตกรรม