Innovation

  • ชื่อ
    พ.ศ. 2547 ยกเครื่องสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ (Innovation)
    รายละเอียด :
    ยกเครื่องสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ (Innovation)

    ภาพคุณชุมพล ณ ลำเลียง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ถือปืนเลเซอร์เหนี่ยวไกยิงปืนเปิดงาน Innovation: Change for Better Tomorrow ที่สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2547 เป็นสัญลักษณ์การตอกย้ำนโยบายมุ่งเน้นความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม แสดงถึงการเริ่มต้นสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ เตรียมพร้อมสู่การก้าวเป็นองค์กรชั้นนำในระดับภูมิภาค โดยมีผู้บริหารระดับสูงและพนักงานเข้าร่วมงาน

    ทั้งนี้ การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมเป็นนโยบายสำคัญ ถือเป็นก้าวใหม่สู่การเติบโตสู่ระดับสากลของเอสซีจี โดยให้ความสำคัญที่การกระตุ้นให้พนักงานใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน เปลี่ยนแปลง คิดใหม่และใฝ่รู้ คุณชุมพลกล่าวว่า “วันนี้ทุกคนต้องคิด ต้องทำและกล้าตัดสินใจ เพื่อที่จะพัฒนาเป็นวัฒนธรรมองค์กรยุคใหม่ที่จะนำเราไปสู่อนาคตได้” 

    สิ่งที่เป็นรูปธรรมที่แสดงให้เห็นการมุ่งเน้นนโยบายดังกล่าว อาทิ การจัดกิจกรรม “SCG Power of Innovation Award” เป็นการแข่งขันสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ระหว่างกลุ่มธุรกิจต่างๆของเอสซีจี โดยผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศครั้งแรก ได้แก่ ทีม Pimai จากบริษัทเซรามิกอุตสาหกรรมไทย ในธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ซึ่งคิดค้นและพัฒนากระเบื้องพิมายจนกลายเป็นสินค้าสร้างชื่อเสียงให้กับเอสซีจีในระดับโลก และสามารถส่งออกไปยังประเทศชั้นนำด้านแฟชั่น เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษและอิตาลี

    สำหรับกิจกรรมภายนอกองค์กร มีการสื่อสารให้รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง โดยการนำเสนอภาพยนตร์โฆษณาชุด Drawing the Future ตามด้วยโฆษณาแยกตามธุรกิจ เช่น ชุด Infinite Possibilities ของธุรกิจปิโตรเคมี ชุด Idea on Paper ของธุรกิจกระดาษ

    ทั้งนี้ เอสซีจีได้ให้คำจำกัดความของนวัตกรรมว่า เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์และบริการ กระบวนการทำงาน รูปแบบธุรกิจที่สามารถใช้ประโยชน์ สิ่งใหม่เหล่านี้ เป็นไปได้ทั้งสิ่งที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน หรือเป็นสิ่งใหม่ต่อยอดจากการที่เคยทำมาแล้ว โดยใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี และการจัดการมาผนวกกับการส่งเสริมวัฒนธรรมนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สัมฤทธิ์ผลและเป็นประโยชน์  
    ป้ายคำค้น :
    ชุมพล , ณ ลำเลียง , Innovation , วัฒนธรรมองค์กร , 2547 , องค์กรแห่งนวัตกรรม
  • ชื่อ
    พ.ศ. 2551 มุ่งเน้นงานวิจัยและพัฒนา (R&D)
    รายละเอียด :
    มุ่งเน้นงานวิจัยและพัฒนา (R&D)

    เป็นภาพชัดเจนว่า บนเส้นทางการเติบโตสู่เป้าหมายเป็นผู้นำทางธุรกิจอย่างยั่งยืนในอาเซียน ตามวิสัยทัศน์ของ SCG มีความท้าทายที่สำคัญอยู่ที่การแข่งขัน และการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่รวดเร็ว

    “นวัตกรรม” จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่กำหนดความอยู่รอดและความสามารถในการแข่งขัน ทำให้ SCG เน้นส่งเสริมการคิดนอกกรอบ และปลูกฝังวัฒนธรรมนวัตกรรม (Innovative Culture) ให้กับพนักงานทุกคน ด้วยตระหนักว่า พนักงานเป็นพลังขับเคลื่อนองค์กรสู่วิสัยทัศน์ดังกล่าว

    SCG ได้จัดสรรงบประมาณกว่า 6,000 ล้านบาท สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาในช่วงเวลา 5 ปี (2551-2555) เพื่อส่งเสริมกลยุทธ์ด้านนวัตกรรม ทั้งภายในองค์กร เช่น งานวิจัยและพัฒนา และบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property – IP) รวมถึงภายนอกองค์กร เช่น การทำโครงการวิจัยและพัฒนาร่วมกับสถาบันต่างๆ   
    ป้ายคำค้น :
    Innovation , 2551
  • ชื่อ
    พ.ศ. 2554 พัฒนาการตลาดแนวสร้างสรรค์ "Human Value Marketing"
    รายละเอียด :
    พัฒนาการตลาดแนวสร้างสรรค์ "Human Value Marketing"

    ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา SCG ใช้ยุทธศาสตร์ในการทำธุรกิจแบบใหม่ นั่นคือ Human Value Marketing โดยมุ่งยึดแกนหลัก 3 เรื่อง คือ ความเข้าใจ (Understanding) นวัตกรรม (Innovation) และแนวคิดร่วมสร้างสรรค์ (Co-Creation)

    ความเข้าใจ หมายถึงการมองไม่เพียงแค่ความต้องการที่มีอยู่จริงของผู้บริโภค (Real needs) เท่านั้น แต่ต้องมองลึกลงไปถึงความต้องการที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน (Latent Needs) ผสานกับการเข้าใจ Human ความเป็นคน และสังคมรอบข้างทั้งหมด

    นวัตกรรม ถือเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการผลิตสินค้าเพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ผู้บริโภค เป็นการตอบโจทย์ความต้องการท่ามกลางยุคสมัยและสังคมโลกที่เปลี่ยนไป ยิ่งกว่านั้น สินค้าและบริการที่ผลิตออกมานอกจากเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิต ยังต้องผนวกเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งหมายถึงการรักษาสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในทุกๆ จังหวะก้าวที่เคลื่อนไปข้างหน้า

    ภายใต้การใช้นวัตกรรมเข้ามาสนับสนุน และตอบโจทย์ความต้องการหลากหลายของผู้บริโภค นอกจากต้องเน้นเรื่องการวิจัยและพัฒนาแล้ว SCG ยังเน้นผสานความร่วมมือจากพันธมิตรทั้งภายในและภายนอกองค์กรในการทำ Co-Creation โดยตั้งงบประมาณวิจัยและพัฒนาไว้ที่ 1,300 ล้านบาท

    ประโยชน์โดยตรงของความเคลื่อนไหวเชิงกลยุทธ์ดังกล่าว ช่วยทำให้ทุกองคาพยพขององค์กรขนาดใหญ่อย่าง SCG ก้าวเดินไปในทิศทางเดียวกัน ยิ่งกว่านั้นยังส่งผลไปยังเพื่อนร่วมอุตสาหกรรม สังคม รวมถึงผู้บริโภค 

    SCG เริ่มสื่อสารแนวคิด Human Value Marketing ผ่านภาพยนตร์โฆษณา “Today…Tomorrow มุ่งเน้นเรื่อง ‘การเพิ่มคุณค่าเพื่อวันนี้และวันหน้าสำหรับทุกคน’ โดยยึดผลการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคที่ว่าไม่เพียงต้องการคุณภาพ หรือประโยชน์ใช้สอยจากสินค้าเท่านั้น หากยังมีความต้องการอื่นซ่อนอยู่ เช่น ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ช่วยประหยัดทรัพยากร และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ในลักษณะนี้ ได้แก่

                • พลาสติกย่อยสลายได้จาก SCG Chemicals ซึ่งไม่เพียงตอบสนองการใช้งานที่สะดวกสบายในวันนี้ แต่ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายได้หมด ช่วยทำให้โลกสะอาดขึ้นในวันหน้าด้วย
                • กระดาษไอเดีย แมกซ์ ช่วยให้ผู้บริโภคได้กระดาษที่ใช้ทรัพยากรน้อยลง สามารถใช้งานอย่างมีคุณภาพคุ้มค่าในวันนี้ ขณะเดียวกันช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับโลกในอนาคต
                • ระบบบ้านเย็นตราช้าง ไม่เพียงตอบสนองชีวิตเจ้าของบ้านให้อยู่สบาย ประหยัดการใช้พลังงานในวันนี้เท่านั้น แต่ยังช่วยลดสภาวะโลกร้อน ทำให้โลกของเราเย็นลงในวันหน้า
                • ปูนตราช้างทนน้ำทะเล ทำให้โครงสร้างมีความทนทานและอายุการใช้งานยาวนานมากขึ้นกว่าปูนซีเมนต์ทั่วไป จึงช่วยให้มีทรัพยากรเหลือไว้ให้ลูกหลานใช้ได้ในอนาคต
                Human Value Marketing จึงเป็นกลยุทธ์การตลาดที่ไม่เพียงตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยนวัตกรรมสินค้าและบริการที่เหนือกว่าเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีและสังคมยั่งยืน  ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาของ SCG ที่ชัดเจนอย่างยิ่งด้วย
     
    ป้ายคำค้น :
    2554 , Human-Value-Marketing , Innovation , Co-creation
  • ชื่อ
    โชว์สินค้าและโซลูชันในงาน World Expo 2020 Dubai ด้วยคอนเซปต์ “SCG Innovation for Better Living”
    รายละเอียด :
    2564  
    ป้ายคำค้น :
    Innovation